ผม และ 3D Printer

พูดคุยเรื่องราวเกี่ยวกับ 3D หรือจะเรื่องงาน Graphic งาน Programing ก็ได้
porndusit
Posts: 435
Joined: 17 Jul 2015, 13:54

ผม และ 3D Printer

Post by porndusit »

ช่วงนี้มีโอกาสได้ทำงานกับเครื่อง 3D Printer เป็นครั้งแรกของผมที่ได้จับมันและต้องปรับความคิดใหม่หมดเลยมีเรื่องอยากมาเล่าสู่กัน
- อย่างแรกคือมันไม่ง่ายเหมือนที่เคยคิด ถึงแม้จะติดตามข่าวคราวมาเกือบ 2 ปี ตั้งแต่มันเริ่มต้นในโครงการ kickstarter ซึ่งเป็นเว็บรวบรวมเงินทุนจนกระทั่งมีเครื่องที่สามารถผลิตออกมาขายจริงได้
02.jpg
ตัวเครื่องที่ผมไดัลองใช้งานนี้สูง 50 ซม. หนักเอาเรื่องอยู่ที่ 50 กว่ากิโลเนื่องจากโครงสร้างเป็นเหล็กแทบจะ 100% เรียกว่าถ้าอยากยกคนเดียวมีสิทธ์ไปพบหมอได้ ผลิตจากประเทศจืน
เครื่องนี้มี 2 หัวพิมพ์ใช้การควบคุมโดยมีปุ่มกดเลือกหัวข้อใช้งานจากจอ LCD เล็กๆ จะโอนข้อมูลโดยต่อสาย USB จากเครื่องคอมพ์หรือ SD card ก็ได้ ทำงานโดยหัวพิมพ์เคลื่อนที่ในแนวระนาบ
ตามแกน xy และแท่นรองรับที่เห็นเป็นสีฟ้าๆ จะเคลื่อนที่ในแนวดิ่งลงมาเรื่อยๆ จนงานเสร็จ แท่นสีฟ้านั้นจริงๆ แล้วเป็นกระจกทนความร้อนเหมือนในเตาไฟฟ้าแต่ติด blue tape ที่เห็นเป็นม้วนอยู่หน้าเครื่อง
เพื่อให้ชิ้นงานติดพื้นดีขึันและป้องกันกระจกเป็นรอย พื้นที่ในการสร้างงานก็ไม่เกิน A4 สำหรับเครื่องนี้แต่ตวามสูงก็เกือบ 50 ซม.เท่าตัวเครื่อง ตัวนี้นับว่าเป็นเครื่องขนาดใหญ่มากแล้ว
วัตถุดิบที่ใช้นั้นเป็นเส้นพลาสติคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.7 มม.เราเรียกว่า filament โดยหลักจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ PLA กับ ABS มีเกือบทุกสีและปัจจุบันตัว filament นี้มีวัสดุออกมาใหม่ๆ เยอะมาก
ทั้ง ใส ยาง ผสมผงไม้เข้าไป แต่เครื่องพิมพ์ที่ใช้ต้อง support มันด้วย เครื่องนี้ไม่มีระบบปรับระดับฐานให้ต้องปรับด้วยมือเอาเอง โปรแกรมที่ทำงานคือ CURA โดย import งานในสกุล STL หรือ OBJ เข้ามา
เซฟงานออกมาเป็น .gcode ถ้าใครทำงานกับเครื่อง CNC จะรู้จักไฟล์นี้ดี
01.jpg
นี่คือพวกชิ้นงานที่พิมพ์ออกมาเทียบขนาดกับเหรียญบาท ตัวไฟล์นั้นหาจากในเน็ท สิ่งที่บอกว่าเพิ่งรู้จริงๆ คือเวลาที่ใช้ต้องบอกว่าไม่เร็วแต่ไม่ใช่ว่าช้าแบบเต่า ตัวอย่างคือตัวช้างหรือหัว T-800 ใช้เวลาพิมพ์
ชิ้นละเกือบ 6 ชั่วโมง ส่วนหัว Nefertiti หัวละ 18 ชั่วโมงกว่่า หัวสีเงินนั้นผมลองใช้สี tamiya พ่นดู ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้ปรับให้พิมพ์ละเอียดที่สุดซึ่งจะเพิ่มเวลาขึ้นอีกเท่าตัว สิ่งที่ยากในการทำงานคือ
การปรับค่าต่างๆ ที่ต้องศึกษาจากคู่มือให้ละเอียดเพื่อให้ชิันงานออกมาดูดีที่ยอมรับได้(ไม่ได้บอกว่าดีที่สุด) ค่าต่างๆ นั้นมีความสัมพันธ์กันหมด แต่เราไม่ต้องปรับมันบ่อยแค่เข้าใจในครั้งแรกก็โอเคแล้ว
สิ่งที่หลอกเราคือคำว่า printer เพราะการใช้งานไม่ง่ายแบบ inkjet printer ที่เราคุ้นกับมัน และยังมีปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องหาสาเหตุให้ได้ไม่งั้นไม่มีทางพิมพ์สำเร็จ อย่างแรกที่ทุกคนต้องเจอคือ
การปรับระดับฐานรองรับงานเพื่อให้ layer แรกติดฐานอย่างแน่นหนาและสม่ำเสมอ ความไม่ง่ายในการใช้งานนี้เองทำให้หลายโครงการใน kickstarter ต้องล้มพับไป อย่างเช่นเครื่อง 3d print แบบ home use
ซึ่งผลิตออกขายจริงแล้วแต่ตลาดคนใช้ไม่เกิดเพราะใช้จริงไม่ง่ายนั่นเอง บางคนซื้อมาแล้วรู้สึกว่าพิมพ์ยากสุดท้ายก็ไม่ใช้มันอีกเลย ปัจจุบันผู้ผลิตเลยหันมาจับตลาดเครื่องแบบ semi-pro หรือ professional ไปเลย
03.jpg
สิ่งที่ทุกคนต้องมีคือส่วนเสียจากงาน(จริงๆ มีมากกว่านี้กว่าเท่าตัว)

ข้อแนะนำ
- เครื่องที่มีตัวเครื่องเป็นเหล็กจะส่งผลดีในการทำงานเนื่องจากน้ำหนักทำให้ตัวเครื่องเสถียร เพราะเครื่องจะสั่นอยู่ตลอดเวลาในการทำงาน และจะมีเสียงจากการเครื่องทำงานเกิดขึ้นด้วย บางตัวอาจจะดังจนรู้สึกกวน
- หาผู้ขายเครื่องที่ให้ความรู้แก่คุณและไม่หงุดหงิดเมื่อคุณโทรถามอยู่บ่อยครั้ง
- อย่าหวังผลงานที่ดีจากเครื่องราคาถูก ควรหาข้อมูลรีวิวเครื่องให้มากที่สุดรวมถึงวิธีใช้และการแก้ปัญหา
- เครื่องจากจีนมีข้อดีคือปัญหาเรื่องอะไหล่จะสั่งได้ง่ายกว่าเครื่องจากอเมริกาหรือยุโรป(สำหรับผู้ขาย) จีนนั้นไม่ได้เก่งในการคิดเทคโนโลยีนี้แต่เขาก็เอามาก๊อปและปรับให้มันถูกลง แต่ถ้าอยากได้เครื่องรุ่นใหม่ๆ แน่นอนว่า
ต้องจากอเมริกาหรือยุโรปเท่านั้น ญี่ปุ่นก็มีแต่เหมือนเมนูจะเน้นแต่ภาษาญี่ปุ่น เครื่องจากจีนจะสามารถเลือกใช้เส้น filament ยี่ห้อไหนก็ได้ขอให้เลือกที่คุณภาพดีถ้าถูกมากมักจะสร้างปํญหา ไม่ควรปล่อยให้เส้นมีความชื้นเด็ดขาด
เครื่องพิมพ์จากยุโรปบางยี่ห้อจะล็อคไม่ไห้ใช้เส้น filament จากที่อี่นต้องใช้ของเขาเท่านั้นโดยมีชิปตรวจสอบอยู่ที่ม้วนเส้น แต่เข้าใจว่าเขาเกรงว่าเราจะไปใช้เส้นที่ไม่มีคุณภาพเท่ากับที่เขาทดสอบมากับตัวเครื่องซึ่งส่งผลกับชิ้นงานโดยตรง
- คิดเรื่องสถานที่ตั้งไว้ก่อนเพราะมันจะมีกลิ่นหลอมเส้นพลาสติคออกมาด้วย ควรหาที่ตั้งที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ทำในห้องแอร์ได้แต่กลิ่นก็จะอวลอยู่ในห้องตลอด และไม่ควรให้ลมแอร์เป่าเข้าที่เครื่องโดยตรง
เพราะอุณหภูมิมีผลกับชิ้นงานอย่างสำคัญยิ่ง ไม่ต้องหาเครื่องใหญ่เท่าที่ผมใช้เนื่องจากเคลื่อนย้ายลำบากมาก เครื่องที่ขายมีหลายขนาดให้เลือก ถ้าจะใช้ทำเล่นๆ ใช้ตัวเล็กก็พอโดยถือเอาพื้นที่พิมพ์งานหรือปริมาตรงานเป็นตัวเลือก
- เครื่องพิมพ์ 2 หัวสามารถสร้างงานได้หลากหลายรูปแบบกว่าที่มีหัวเดียว และควรเลือกซื้อเครื่องที่มีระบบปรับระดับฐานพิมพ์มาในตัวเครื่องเพราะจะเซฟเวลาและลดความหงุดหงิดรำคาญใจในการเริ่มต้นพิมพ์ ในเครื่องรุ่นใหญ่ต้องปรับแบบแมนนวลเอาเอง
- ทำไมต้องใช้ SD card หรือ USB drive ในเครื่องรุ่นใหม่ เพราะถ้าคุณโอนข้อมูลผ่านสาย USB คุณต้องเปิดเครื่องคอมพ์ต่อไว้ตลอดเช่นเดียวกันปิดมันไม่ได้ ควรมีเครื่องสำรองไฟต่อไว้ก่อนเข้าเครื่องพิมพ์เพราะไฟตกบ่อยๆ มีสิทธิ์ทำเครื่องเจ๊งได้
และเครื่องพิมพ์บางรุ่นมีคุณสมบัติพิมพ์ต่อได้จากจุดที่เครื่องหยุดไป
- ติด blue tape ไว้ที่กระจกรองเป็นการดีเพื่อกันไม่ให้กระจกเป็นรอยจากการแกะชิ้นงานที่พิมพ์เสร็จแล้ว ปกติในชุดของเครื่องจะมีเกรียงเหมือนเกรียงปาดสีของช่างให้มาด้วยเพื่อใช้แซะชิ้นงานออกจากพื้น(โปรดทำด้วยความระวังอย่างมาก)
ในรูปบนที่แสดงจะเห็นโผล่มานิดๆ ขวามือล่างใกล้กับคัทเตอร์ เพราะบางงานก็ช่างติดกับพื้นเสียจริง blue tape คือเทปใช้ปิดเวลาทาสีของ 3M ไม่ได้แพงมากประมาณ 200 กว่าบาทใช้ได้ยาวนานแค่เปลี่ยนใหม่เมือมันฉีกขาด
- อย่าแตะที่หัวพิมพ์โดยตรงเด็ดขาด (ร้อนถึง 200 กว่าองศา) เพราะอาจต้องเข้าโรงพยาบาล ใช้คีมที่เขาให้มาเพื่อคีบเศษพลาสติคออกจากหัวพิมพ์
- วิธีการทำงาน ใช้เครื่อง แก้ปัญหาทั้งหลายแหล่ สามารถหาได้จาก youtube ทั้งหมด

ขอให้สนุกและมีความสุขกับการใช้เครื่่อง 3D Printer
porndusit
Posts: 435
Joined: 17 Jul 2015, 13:54

Re: ผม และ 3D Printer

Post by porndusit »

111.jpg
หัวรูปปั้น Nefertiti แบบใกล้หน่อย จะเห็นว่าเป็นชั้น layer ของการพิมพ์ที่พอยอมรับได้ ถ้าจะให้เนียนที่สุดก็ยอบรับเรื่องเวลาไม่ได้เช่นกัน สิ่งนี้คือธรรมชาติของงานพิมพ์ 3D printer ที่คนใช้ต้องเข้าใจมัน
เว้นแต่ว่าในอนาคตจะสามารถพัฒนาให้ดีกว่าและเร็วกว่านี้ ในตอนนี้เครื่องพิมพ์รุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง LulzBot TAZ 6 จากยุโรปก็เป็นที่กล่าวขวัญถึงในเรื่องความเร็วและคุณภาพแต่ก็มีหัวพิมพ์แค่หัวเดียว ราคาสูงถึง US$2,500
อีกทั้งผลิตไม่ทันคนซื้อไม่มีของขาย ในเมืองไทยไม่มีตัวแทนจำหน่าย
(หัวรูปปั้น Nefertiti นี้เป็นที่ถกเถียงกันที่เมืองนอกเพราะทางพิพิธพัณฑ์แห่งชาติอียิปต์เขาใช้เลเซอร์สแกนของจริงอย่างละเอียดแล้วมีการนำไฟล์มาใช้กันอย่างกว้างขวาง เมื่อมีคนนำไปผลิตเป็นของขายก็ถามว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่)
222.jpg
ถ้าถามว่าแล้วจะใช้มันทำงานอะไรดีก็ตอบว่าทำได้ร้อยแปด รูปนี้ผมลองทำกระปุกใส่เศษเหรียญขึ้นมาเองโดยสร้างแบบฝาใน 3Ds Max แล้วพิมพ์ขึ้นมาใช้เวลาประมาณ 4 ชม. ปิดเข้ากับแก้วใบเล็กที่ซื้อมาจาก IKEA
ข้อแนะนำคือสร้างชิ้นงานโดยกำหนด unit ให้เป็นเซ็นติเมตร เมื่อเซฟไฟล์เป็น .STL แล้วเอาไปเข้าโปรแกรม CURA เซฟเป็นไฟล์ .gcode เข้าเครื่องพิมพ์ก็จะได้งานที่มีขนาดอย่างที่ต้องการไม่ถึงกับ 100% เป๊ะแต่ก็เกือบๆ
333.jpg
รูปนี้แสดงให้เห็นถึงการพิมพ์ชั้นแรกที่ผมพูดถึงว่าต้องติดฐานพิมพ์อย่างสม่ำเสมอและแน่นหนา ถ้าได้ประมาณนี้คุณก็ไปนอนหลับพักผ่อนหรือไปเดินห้างอย่างสบายใจและกลับบ้านมาพบงานพิมพ์แสนสวยของคุณ
ยกเว้นแต่ว่าจะมีสิ่งไม่คาดฝันเกิดขึ้นแต่ก็ไม่ค่อยเจอ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องแก้ปัญหาโดยหาสาเหตุให้เจอ ถ้าอยากทำงานให้มีปัญหาน้อยที่สุดมีอยู่ทางเดียวคือใช้เวลาศึกษาอยู่กับมันให้มากที่สุด จะได้คุ้มค่ากับเงินที่ซื้อมันมาใช้งาน
Last edited by porndusit on 09 May 2016, 16:04, edited 2 times in total.
porndusit
Posts: 435
Joined: 17 Jul 2015, 13:54

Re: ผม และ 3D Printer

Post by porndusit »

123.jpg
นี่เป็นเครื่องมือส่วนใหญ่ที่ต้องใช้กับงาน 3D printer ซึ่งส่วนมากก็รู้จักกันดียกเว้นบางตัวมี่บางคนอาจถามว่าเอามาใช้อะไร
- คัทเตอร์ต้องมีอยู่แล้วแต่คีมตัดพลาสติคควรจะหาซื้อที่คมๆ เอาไว้แต่งชิ้นงานที่ไม่เรียบร้อยหรือตัดปลายเส้น filament เวลาเปลี่ยนม้วนหรือหัวพิมพ์ตัน ซื้อจากร้านอมร 70 บาท
คีมทางขวามือเป็นของ Tamiya เขาเรียกว่าคีมเทพในกลุ่มคนต่อโมเดลเพราะตมกริบตัดแม่นเหลือเกิน ผมเอาไว้เก็บงานราคาก็อย่างที่เห็น
- ตัว SD card adapter แถมมากับชุดไว้เสียบกับช่อง usb ของเครื่องคอมพ์
- ตลับเมตรหรือไม้บรรทัดไว้วัดขนาด
- กาว UHU stick ไว้ทาบน blue tape บางๆ เพื่อให้ชิ้นงานติดดียิ่งขึ้น
- แอลกอฮอล์ไว้ใช้ทำความสะอาดฐานพิมพ์ก่อนหรือหลังการพิมพ์
- กาวร้อนใช้ติดชิ้นงานพลาสติคเข้าด้วยกัน
- กระดาษทรายน้ำเบอร์ละเอียดไว้ขัดแต่งงาน
- น้ำมันจักรที่หยอดจักรไฟฟ้าอย่างน้ำมันซิงเกอร์ ไว้เคลือบส่วนแกนโลหะในตัวเครื่องเมื่อผ่านการใช้หลายๆ ครั้ง โดยทาอย่างบางๆ อยาชโลมจนมันหยดย้อย
สิ่งที่ผมกำลังคิดจะไปซื้อเพิ่มคือ putty ที่ใช้เวลาต่อโมเดล เพราะงานพิมพ์ที่เสร็จแล้วอาจจะไม่สมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต้องมีการอุดและขัดแต่งในบางจุด
porndusit
Posts: 435
Joined: 17 Jul 2015, 13:54

Re: ผม และ 3D Printer

Post by porndusit »

Fale.jpg
Fale01.jpg
ตัวอย่างการพิมพ์ที่เพิ่งเสียกันแบบจะๆ เลย
Fale02.jpg
ค้องเปลี่ยน blue tape ใหม่เมื่อถูกใช้จนเยิน
porndusit
Posts: 435
Joined: 17 Jul 2015, 13:54

Re: ผม และ 3D Printer

Post by porndusit »

Ele.jpg
ช้างๆๆๆๆ
porndusit
Posts: 435
Joined: 17 Jul 2015, 13:54

Re: ผม และ 3D Printer

Post by porndusit »

คุณสมบัติ ข้อดี ข้อเสีย ของ filament ชนิดต่างๆ เท่าที่มีอยู่ในท้องตลาดไม่ได้มีขายในเมืองไทยทุกชนิด จากมทความ "17 Great 3D Printer Filament Types: An Overview" by All3DP

https://all3dp.com/best-3d-printer-fila ... ood-metal/
porndusit
Posts: 435
Joined: 17 Jul 2015, 13:54

พาณิชย์ออกเกณฑ์คุมนำเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติ

Post by porndusit »

02 มิถุนายน 2559 จาก โพสต์ทูเดย์
"พาณิชย์" ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์นำเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติ หลังพบมีผู้นำไปใช้ผลิตสินค้าผิดกฎหมาย ชี้ผู้นำเข้าต้องขึ้นทะเบียนและแจ้งรายละเอียดครอบครอง

นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2559 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ........

สำหรับ การออกร่างประกาศดังกล่าว เนื่องจากเครื่องพิมพ์สามมิติสามารถนำไปใช้ได้ทั้งทางบวกและทางลบ โดยสามารถใช้ในวงการแพทย์ การสาธารณสุข วิศวกรรม การก่อสร้าง รวมทั้งการออกแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ต่างๆ แต่กลับมีผู้นำไปผลิตวัตถุผิดกฎหมายและวัตถุอันตราย
เช่น นำไปหล่อเป็นวัตถุโบราณเพื่อลอกเลียนของจริง หรือ ATM Skimming ดังนั้น จึงต้องมีมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้า เพื่อไม่ให้นำไปใช้ในทางลบ โดยประกาศดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.นี้เป็นต้นไป

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การปฏิบัติตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย กรมได้ออกประกาศกรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำเครื่องพิมพ์สามมิติเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 ซึ่งกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติกับกรมการค้าต่างประเทศ ให้แจ้งการนำเข้าอย่างน้อย 15 วันก่อนนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และนำแบบรับการแจ้งไปแสดงต่อกรมศุลกากรประกอบพิธีการนำเข้า และแจ้งรายละเอียดการนำเข้า การครอบครอง และการจำหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้เช่าซื้อเครื่องพิมพ์สามมิติทุกสิ้นเดือนมิ.ย. และเดือนธ.ค.ของทุกปี โดยให้จัดทำเป็นรายงานส่งให้กรมการค้าต่างประเทศภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

“ในการออกประกาศกรม เรื่องหลักเกณฑ์การนำเข้า กรมฯ ได้หารือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งชี้แจง ทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ และผู้นำเข้าแล้ว อย่างไรก็ตาม ก่อนถึงวันที่ 28 มิ.ย.นี้ ผู้ประกอบการสามารถศึกษารายละเอียดประกาศกระทรวงฯ และประกาศกรมฯ ดังกล่าวได้จากเว็บไซต์ http://www.dft.go.th หรือทาง facebook #dft2go หรือสอบถามที่สายด่วนกรมฯ 1385”
porndusit
Posts: 435
Joined: 17 Jul 2015, 13:54

Re: ผม และ 3D Printer

Post by porndusit »

ทุกๆ คนที่ใช้ 3D printer ต้องเจอปัญหาปวดหัวกันทั้งนั้น มาดูสาเหตุและวิธีแก้ไขปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกัน

16 Common 3D Printing Problems and Solutions
https://all3dp.com/common-3d-printing-p ... solutions/
porndusit
Posts: 435
Joined: 17 Jul 2015, 13:54

Re: ผม และ 3D Printer

Post by porndusit »

3D Printer แบบ 4 สี + สีขาว - สามารถสร้างงานแบบไล่สีเข้าหากันได้

RoVa4D Full Colour Blender 3D Printer on Kickstarter
https://all3dp.com/rova4d-full-colour-b ... d-printer/
porndusit
Posts: 435
Joined: 17 Jul 2015, 13:54

Re: ผม และ 3D Printer

Post by porndusit »

(ข่าวจาก blognone)
Under Armour โชว์ "Architech" รองเท้าพิมพ์สามมิติ: ยังมีข้อจำกัดที่จะผลิตทีละมากๆ
160225_adh_lander_3darchitech_primary-640.jpg
uauaua-640.jpg
รองเท้าที่ทำจากการพิมพ์สามมิติก็ออกมาให้ยลเรื่อยๆ ล่าสุดก็เป็น "Architect" ของ Under Armour ที่แสดงแสนยานุภาพของการพิมพ์ชนิดนี้ในขณะนี้ โดยพิมพ์ส่วน midsole แม้จะไม่พิมพ์ออกมาทั้งคู่ แต่ก็เป็นลวดลายสวยงามไม่น้อย
ซึ่ง FastCo. Design ระบุว่าการพิมพ์สามมิติยังผลิตเป็นจำนวนมากๆ ไม่ได้ เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้
ที่มา - FastCo. Design
วิธีการผลิตรองเท้าแบบเดิมคือแผ่นพื้นใช้การกดแม่พิมพ์ลงไปบนวัสดุ จากนั้นเป็นการเย็บส่วนต่างๆ ทีละชิ้นเข้าด้วยกัน ซึ่งการปรับแต่งรองเท้าให้เป็นแบบเฉพาะเป็นเรื่องลำบาก และการพิมพ์สามมิติจะทำให้รองเท้าแต่ละคู่มีเอกลักษณ์เฉพาะได้ตามผู้ใส่นั้นจึงเป็นความหวัง แต่ข้อเสียคือทำได้ช้า และมีโอกาสเสียสูงมากเช่นกัน
Under Armour ยังไม่พิมพ์รองเท้าออกมาทั้งคู่เนื่องจากต้นทุนสูงมาก แตกต่างจากโครงสร้างราคาแบบเดิม เพียงรองเท้ารุ่นใหม่นี้พิมพ์สามมิติแค่ฐานยังมีราคาคู่ละ 300 เหรียญสหรัฐฯ แล้ว (sold out แล้วเรียบร้อย)
โรงงานในแต่ละภูมิภาคทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรป และอเมริกาใต้ยังไม่พร้อมลงทุน และคนจาก Autodesk ยังชี้ว่าบุคลากรในอุตสาหกรรมยังต้องลองผิดลองถูกอีกมาก ซึ่ง UA เองมองว่าต้องใช้เวลาอีกกว่าสิบปีกว่าจะพร้อมทุกโรงงาน
Under Armour จินตนาการการสั่งซื้อรองเท้าในอนาคตไว้ว่า ผู้ใช้ดาวน์โหลดแอพ สแกนรูปทรงเท้าของตัวเอง อัพโหลดขึ้นคลาวด์ แล้วใช้ชอฟต์แวร์ Autodesk Within ออกแบบรองเท้าเฉพาะตัวออกมา จากนั้นเข้าสู่การประกอบและส่งถึงผู้ใช้
Post Reply